เภสัชวิเคราะห์
เป็นการตรวจวัดปริมาณของยาสำคัญที่อยู่ในยา อย่างเช่น ตรวจหาว่าในพารา1เม็ดมียาพาราอยู่จริงกีมิลลิกรัม เข้ามาตราฐานตามที่กำหนดไว้ใน ฟามาโคเปีย ไหม? จะทำการตรวจโดยการไตรเตรท และออกแบบการตรวจวัดที่เหมาะสม กับยา หรือสารชนิดนั้น
การไตเตรท จะใช้บิวเรตเป็นตัวปล่อยของเหลวมา โีดยวิธีการขึ้นกับความเหมาะสมของสารที่จะตรวจวัด
ควรทำการทดลองอย่างน้อยหลายๆครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด โดยแต่ละการตรวจต้องไม่ต่างกันมาก หากต่างกันมากไป ต้องไปทำมาใหม่เพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน งานนี้จึงเป็นงานที่ต้องละเอียดและรอบคอบมากๆในการทำงาน การแก้รีพอร์ทที่ได้จากการตรวจวัดจะไม่ใช้ น้ำยาลบคำผิด แต่จะใช้ปากกาขีดทิ้งแล้วเขียนใหม่เพื่อป้องกันการ Make data หรือการเขียนเองโดยไม่ได้มาจากการตรวจที่แท้จริง ทศนิยมของปริมาณของเหลวอ่านค่าบิวเรตใช้ทศนิยม2ตำแน่ง เช่น 3.02 , 0.05, 4599.98 ค่าของของแข็งที่ชั่งใช้ทศนิยม4ตำแหน่งเช่น 6.2345
ค่าทศนิยม ทศนิยมที่อ่านได้จากบิวเรตตัวสุดท้ายจะเป็นค่าที่ประมาณด้วยสายตาจากผู้ตรวจวัด ส่วนทศนิยมตัวแรกได้จากค่าของบิวเรตวัดได้จริงๆ โดยค่าที่ประมาณจากสายตานั้น ต้องลงท้ายด้วยเลขคู่ แต่มี5เป็นเลขคี่ตัวเดียว คือ 0.2.4.5,6,8
การอ่านบิวเรตนั้นถ้าสารมีลักษณะใสให้ใช้ ท้องน้ำ เร่ียก Lower meniscus ส่วนที่โค้ง ของของเหลวที่อยู่ในบิวเรต เพราะบิวเรตค่อนข้างแคบเล็กจึงมีแรงตีงระหว่างผิวแก้วบิวเรตกับของเหลวมากกว่าแรงตึงผิวระหว่างของเหลวด้วยกัน ของเหลวด้านข้างจึงดูเหมือนถูกยกขึ้นไป ทิ้งตรงกลางเอาไว้ซึ้งเราจะใช้ส่วนโค้งตรงนี้ในการอ่านขีดที่บืวเรต อาจจะมีตัวช่วยอย่าง บืวเรต รีดเดอร์ Burett reader คือแถบดำเลื่อนให้สะท้อนท้องน้ำ จะได้เห็นได้ชัดขึ้น แต่ถ้าของเหลวมีสีทึบ อย่าง KMnO4 ด่างทับทิม ให้ใช้ ด้านบนได้เลย เรี่ยก upper meniscus เพราะมองไม่ค่อยเห็นจึงไมสามารถเป็นมาตราฐานได้ เลยใช้ส่วนบนที่ทึบอ่านค่าบิวเรตได้เลย ที่บิวเรตแคบเพราะหากอ่านค่าคลาดเคลื่อนจะไม่มีปริมาณมากเท่าพื้นที่ผิวกว้างๆ เมื่อคลาดเคลื่อนแล้วจะผิดมากจนผลออกมาผิดพลาดได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น