วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อิมัลชั่น ครีม เทคโนโลยีเภสัชกรรม

อิมัลชั่น ทางเภสัชกรรม แบบย่อ
เป็นสาร2วัตภาคหรือมากกว่า ที่ไม่เข้ากัน
ประกอบด้วย3ส่วนคือ
1)ส่วนน้ำ หรือ วัตภาคน้ำ หรือ เฟสน้ำ Phase water
2)น้ำมัน หรือ วัตภาคน้ำมัน หรือ เฟสน้ำมัน หรือ Phase oil
3)สารเชื่อมสารที่ไม่เข้ากัน ของส่วนแรกและส่วนสอง เรียกว่า
Emulsifyer หรือ Emusifying agent
อิมัลชั่นโดยปกตืจะไม่ตกตะกอน แต่หากทิ้งไว้นานอาจเกิดการแยกชั้นได้
มีหลายอย่างที่ทำเป็นยาเช่น ครีมที่ทาผิว ทาหน้า , ยาเหน็บ , โลชั่น เป็นต้น
ทำอิมัลชั่นคือต้องให้มันผสมด้วยกันได้ระหว่างวัตภาคน้ำและวัตภาคน้ำมัน มีสื่อกลางเชื่อมคือEmusifyer
โดยอยู่ในลักษณะคล้ายยกับ วัตภาคนึงจะเป็นตัวทำละลาย อีกวัตภาคจะเป็นตัวถูกละลาย
หลักๆจะมีสองลักษณะคือ
1) o/w  (มาจาก oil in water ) หมายความว่า น้ำมันละลายอยู่ในน้ำ
2)w/o   (มาจากwater in oil) หมายความว่า น้ำละลายอยู่ในน้ำมัน
*สัญลักษณ์นี้เป็นที่เข้าใจสากล เพราะง่ายต่อการพูดถึง
o = oil วัคภาคน้ำมัน
w = water วัตภาคน้ำ
ตัวหน้าคือ ตัวถูกละลาย มีปริมาณน้อยกว่า
ตัวหลังคือ ตัวทำละลาย มีปริมาณเยอะกว่า
แล้วถ้าถามว่า มี o/w/o หรือ w/o/w ไหม?
w/o/w= น้ำละลายในน้ำมันซึ่งละลายในน้ำอีกที ละลายซ้อนกันสองชั้น
ตอบว่า มี!
แต่ส่วนมากจะไม่คงตัวมักกลับไปชั้นเดียวเหมือนเดิม= w/o , o/w
แล้วละลาย ซ้อนกันมากกว่า2ชั้นหล่ะ มีไหม?
มี !
โดยให้เหตุผลเดียวกันกับละลายซ้อนกัน2ชั้น
คือ ส่วนมากจะไม่คงตัวมักกลับไปชั้นเดียวเหมือนเดิม= w/o , o/w
ส่วนมากจะมีสีขาวถ้าขนาดอนุภาคเล็กพอ มีเครื่องลดขนาดอนุภาคเช่นHomoginizer เป็นเครื่องลดขนาดอนุภาคด้วยมือเหมือนวิดน้ำบาดาล หมุนหัวหลวมจะกดแท่นไปจะมีของเหลวออกมาง่ายแต่ลดไม่ดีเท่าหมุนแน่น แต่ต้องไม่แน่นจนกดมาแล้วไม่มีอะไรออกมาเลย
ทางเภสัชกรรมจะใช้ โกร่งและลูกโกร่ง ในการลดขนาดอนุภาคสมัยก่อน ที่ยังไม่มีเครื่องมือ ลักษณะเหมือนครกกับสาก ปั่นของเหลวข้างในที่ประกอบด้วยสามส่วนหลักที่ระบุไป จนเป็นสีขาว
ใช้โกร่งทำอิมัลชั่น มี2วิธีคือ
1)แบบธรรมดา
2)แบบกลับวัตภาค
วิธีผสมแบบธรรมดาที่เข้าใจง่ายๆคือ ไม่มีการกลับวัตภาค เช่น เทวัตภาคที่มีปริมาณน้อยลง อีกวัตภาคที่มีประมาณมากกว่า จะอยู่ในรูปที่ตัวน้อยถูกหุ้้มด้วยตัวมาก  มักจะได้ o/w หรือ w/o
วิธีแบบกลับวัตภาค คือ การผสมวัตภาคมากลงไปในวัตภาคน้อย มันจะเกิดการกลับวัตภาคได้อย่างไร?
สมมุตว่าเรามี2วัตภาค ตั้งอยู่
วัตภาคน้ำในบีกเกอร์200ml
กับ วัตภาคน้ำมัน 150ml
อย่าลืม ใส่อิมัลซิไฟเออร์ให้ถูก ถ้าละลายน้ำใส่วัตภาคน้ำ ละลายน้ำมันก็ใส่วัตภาคน้ำมัน ไม่งั้นคนเท่าไรก็ไม่เป็นอิมัลชั้นนะ
เราจะเทวัตภาคน้ำที่เรามีมากกว่าลงวัตภาคน้ำมัน ที่เราตวงมาน้อยกว่า
เทให้เป็นสาย พร้อมคนแรงๆ
พอใส่ไปตอนแรกพร้อมคนแรงๆ น้ำจะมีน้อยกว่าน้ำมัน ตอนนี้จะเป็น w/o
พอเมื่อเทต่อไปเรื่อยๆน้ำจะมากกว่าน้ำมันแล้ว น้ำหุ้มอยู่นอกสุด เตืม  /w  อีกตัวต่อท้ายเป็น ตอนนี้จะเป็น w/o/w
การกลับวัตภาคนั้น เป็นที่น่าแปลกใจอยู่อย่างคือ มันทำให้อนุภาคอิมัลชั่นของเราเล็กลง !!! เป็นข้อดี ที่เราต้องการ ยิ่งเล็กยิ่งดี เป็นสีขาว
ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ วิธีกลับวัตภาค และเป็นข้อดี ที่วิธีธรรมดา ไม่ให้ผลแบบนี้
ต้องดูว่าEmusifyer ละลายได้ใน วัตภาคน้ำ หรือน้ำมัน ต้องดูด้วยเพื่อให้ใส่ลงไปให้ถูกวัตภาค
อย่าง Emusifyerที่ละลายน้ำเช่น Tween ซึ่งมีหลายเบอร์ อย่าง Tween20 ,Tween 40 ,60,80 เลขต่างกันเพราะสัดส่วนของของผสมต่างกัน
ละลายในไขมันเช่น span ก็มีเบอร์เหมือนกับ Tween และเพราะสัดส่วนของของผสมในนั้นต่างกันด้วยเหมือนกัน
นอกจากส่วนประกอบหลัก 3ส่วน ที่กล่าวในข้างต้นของอิมัลชั่นแล้ว สามารถใส่อย่างอื่นไปเสริมได้ตามที่ต้องการใช้ อย่างเช่น สารแต่งสี ,กลิ่น  สารแต่งกลิ้นใส่ทีหลังสุดเพื่อกันระเหยของกลิ่นออกไป ,สารกันบูด preservative ถ้ามีน้ำต้องมีสารกันบูด ไม่งั้นแบคทีเรียเข้าไปเจริญ อิมัลชั่นเราจะเสีย ใส่ในเฟสน้ำ แบคทีเรียเจริญในน้ำ  ,สารกันหืน oxidazing agent ใส่ในเฟสน้ำมัน นึกถึงนำ้มันพืชตามบ้านที่สามารถเหม็นหืนง่าย และอื่นๆอีกมากมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น