วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โลกของจุลินทรีย์

โลกของจุลินทรีย์
ชื่อเรียกของจุลินทรีย์
Germ
microbe
microorganism
จุลินทรีย์ แบ่งเป็น5กลุ่ม
1)แบคทีเรีย-โปรคาริโอต-เคลี่อนที่โดย แฟกเจลล่า -ผนังPeptidoglycan เป็นคาร์โบไฮเดรต – Binary Fission แบ่งตัวแบบทวีคูณ
– แบ่งเป็น
1.Eubacteria -bacillus แท่ง -Coccus กลม – Spiral หรือ Spirochete เกลียว
2.Archeaobacteria-Halophilesชอบเกลือ – Themoacidophilesชอบอุณหภูมิและกรดสูง – Methane Producing Bacteria ชอบ แก๊สมีเทน
2)ฟังไจ-เห็ด รา ยีส-ผนังไคติน(คาร์โบไฮเดรท) -ดำรงชีพแบบ ย่อยสลาย.ปรสิต,พึ่งพา(ไลเคน=รา+สาหร่าย)
3)โปรโตซัว -คล้ายเซลล์สัตว์- ไม่มีผนังเซลล์-เคลื่อนที่โดย เท้าเทียม.แฟกเจลล่า
4)จุลสาหร่าย -ยูคาริโอตสังเคราะแสงได้-Producerผู้ผลิตที่สำคัญ – อาณาจักรโปรติสตา
5)ไวรัส-จุลินทรีย์ที่เล็กสุด -สารพันธุกรรมDNA ,RNA-หุ้มด้วยเปลือกโปรตีน-อาศัยHost จึงเรียกว่า Obligate Intracellular Parasite
โทษของจุลินทรีย์-มีน้อยกว่าประโยชน์
ก่อโรค Pathogen
ทำให้อาหารเน่าเสีย spoilage food
ประโยชน์ของจุลินทรีย์
รักษาสมดุลธรรมชาติ
จุลินทรีย์บางชนิดสามารถสังเคราะห์ สารอินทรีย์ แอลกอฮอร์ เอนไซม์
จุลชีพประจำถิ่น normal flora หรือ microbiota
เช่น แบคทีเรียในลำใส้คน สลายกากอาหารและสังเคราะห์วิตามินบี เค และคุมเชิื้อไม่ให้เพิ่มจำนวน
-ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ ไวน์ น้ำส้มสายชู โยเกิร์ต ซีอิ้ว เนยแข็ง
ประวัติจุลชีววิทยา
-Robert Hooke-เลนส์สองชุด-พบสิ่งมีชีวิตทีเรียกว่าCells-สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์
-Anton van Leeuwenhoek-เลนส์เดี่ยว-พบจุลินทรีย์คนแรก-ส่องขี้ฟันตัวเอง,แหล่งน้ำต่างๆ
แนวคิด Spontaneous Generation
-สิ่งมีชีวิต เกิดจาก สิ่งไมีชีวิต หรือ สิ่งไม่มีชีวิต
-Francesco Redi -อากาศเป็นสิ่งจำเป็นของ Spontaneous -ทดสอบว่าหนอนแมลงวันขึ้นบนตะแกรงที่ปิดขวดที่ใส่เนื้อเน่า
-John needham-จุลินทรีย์เกิดมาจากของเหลว-จุลินทรีย์ถูกทำลายเมื่อโดนความร้อนและออกซิเจนไม่พอต่อจุลินทรีย์ที่ปิดฝา(ขัดแย้งกับตัวเอง)-ต้มซุปข้าวโพดทิ้งไว้เกิดจุลินทรีย์ แต่ถ้าต้มปิดฝาจะไม่มีจุลินทรีย์
Biogenesis
-สิ่งมีชีวิตต้องเกิดมาจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้น
-Rudolf Virchow-ค้านSpontaneous generation
-Louis Pasteur -ล้มล้างSpontaneous -ต้มซุปเนื้อในขวดคอรูปS Shapesคอขวดยาวเรียวเล็กมาก แต่อากาศยังผ่านเข้าไปได้อยู่ โดยที่ซุปเนื้อไม่บูดเน่าเลย ซุปขวดนี้ตั้งไว้ที่พิพิธภัณฑ์-ส่วนที่โค้งงอจะดักจุลินทรีย์ไม่ให้ไปปนเปื้อน – เทคนิคการปลอดเชื้อ Antiseptic Techniques – Pasteurization พาสเจอไรซ์ ความร้อน63องศาเซลเซียส นาน30นาที -ไวน์และเบียร์ เปรี้ยวเพราะ การหมัก Fermentation (ยีสต์เปลี่ยน น้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์) และแบคทีเรียที่เจริญได้เมื่อมีอากาศจะเปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็นกรดอะซิติก(กรดที่ทำน้ำส้มสายชู)-พบวัตซีน ทำให้จุลินทรีย์อ่อนแอลงแล้วฉีดเข้าร่างกายให้สร้างภูมิต้านทาน
ทฤษฏีการก่อโรค
-Robert Koch-เชื้อ แอนแทรก ฆ่าวัว (Bacillus anthracis)
-พิสูจน์ว่าจุลินทรีย์เป็นสาเหตุของโรค
Koch ‘s postulates
1) Specific Host เชื้อจะก่อโรคกับสิ่งมีชีวิตหนี่งเท่านั้น
2)Pure Culture แยกเชื้อจากสัตว์เป็นโรคมาเพาะเชื้อบริสุทธิ์
3)Susceptible Host เอาเชิ้อบริสุทธิ์ไปฉีดให้สัตว์อ่อนแอ ทำให้เป็นโรคได้
4)แยกเชื้อจากสัตว์เป็นโรคได้เชื้อชนิดเดียวกัน
การรักษาใช้ยา Chemotherapy
-ยาสังเคราะห์-ทำลายเชื้อก่อโรคโดยตรง – เปรียบเหมือน ลูกปืนมหัศจรรย์ Magic bullet – ทำลายเชื้อก่อโรคซิฟิลิส
-ยาปฏิชีวนะantibiotics-สารออกฤทธิ์ยับยั้ง หรือ ทำลาย เชื้อแบคทีเรีย- เชื้อราปล่อยสารยับยั้งแบคทีเร่ียได้ เกิด เพนนิซิลิน โดย Alexander Fleming
การตั้งขื่อวิทยาศาสตร์ ของจุลินทรีย์
-เอาGenus ตัวแรกพิมพ์ใหญ่ ขึ้นก่อนแล้วตามด้วย species พิมพ์เล็กทั้งหมด มีวิธีเขียน2แบบ เขียนแบบเอียง กับ เขียนแบบตรงแล้วขีดเส้นใต้ ขีดแยกกันระหว่าง จีนัส กับ สปีชี่ร์

กล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์
-ตาคนมองเห็นวัตถุเล็กสุด 0.2mm
-กล้องจุลทรรศน์ผลิตโดย Anton van Leeuwenhoek คล้ายแว่นขยาย เรียก simple microscope เลนชุดเดียว
-Magnification ตือ กำลังขยายของเลนส์ในภาพวัตถุ (กำลังขยายทั้งหมด)
-Resolving Power หรือ Resolution อำนาจการจำแนก ,ความสามารถในการแยกจุดสองจุด ประสิทธิภาพที่ดีต้อง 0.2ไมโครเมตร
สูตร R = แรมด้า / 2 N.A.
R= Resolving power
แรมด้า = ความยาวคลืนแสง (นาโนเมตร)
N.A, = Numerical aperture หาได้จาก n Sinเซต้า
-Dark Field Microscope – พื้นหลังมืด-ดูเซลล์เล็กที่ไม่ย้อมสี
-Fluorescense Microscope -ย้อมเซลล์ด้วยสีเรืองแสง ดูด้วยแสงUV
-Electron Microscope -ดูไวรัส -แสดงภาพบนจอ
1.Scanning Electron Microscope (SEM)ส่องกราด-3D-ใช้ดูการจัดเรียงต้วจุลินทรีย์
2.Transmission Electron Microscope (TEM)ส่องผ่าน-2D-ใช้มีดUltramicrotome แล้วใช้โลหะหนักฉาบ-freeze-etching ทำให้เซลล์แข็งแล้วอยู๋ในภาวะสุญญากาศ

Procaryote And Eucaryote

Procaryote And Eucaryote
-ความแตกต่างของยูคาริโอต กับ โปรคาริโอต คือ ยูคาริโอตมีเยืีอหุ้มนิวเคลียส ออแกเนลข้างในก็ไม่มีเยื่อหุ้มเหมือนกัน
-โปรคาริโอตเกิดก่อนยูคาริโอต
-Endosymblotic hypothesis คือ สมมุติฐานว่ายูคาริโอตเกิดจากโปรคาริโอต แล้วพัฒนาเป็นออแกเนลบางอย่าง เช่น ไมโตคอนเดรีย คลอโรพาสต์
-โปรคาริโอต
–โครโมโซม เป็นกรดนิวคลีอิค(DNA ) มีวงเดียว ขดแน่น
–มีผนังเซลล์ที่เป็นลักษณะเฉพาะ คือ เปปทิโดไกลเคนPeptidoglycan เป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรท
-ยูคาริโอต
–มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
–โครโมโซมเป็นแท่ง มากกว่า1แท่ง มีโปรตีนแทรกอยู่ในสายDNA
–พบออแกเนลจำนวนมาก


–โครงสร้างที่อยู่ข้างนอกเซลล์แบคทีเรีย

–Glycocalyx-สารเมือกหุ้มผนังเซลล์ Capsule-หุ้มหนาแน่น,Slime Layer-หุ้มหลวมๆ
—ทำให้เชื้อแบคทีเรียมีความรุนแรงในการก่อโรคBacterial Virulence
—Antiphagocytosis – สารที่ทำให้เชื้อรอดจากการกินของเม็ดเลือดขาว เช่น Streptococcus pneumoniae
—เมือกเกาะเยื่อบุผิว,ฟัน เช่น Streptococcus mutans
—ป้องกันเซลล์ขาดน้ำ Dehydration
—เป็นK-antigen

–Flagella
—ใช้ในการเคลื่อนที่
—-Motility เข้าหาแสงPhototaxis,สารเคมีChemotaxis
—-Brownian Movement -เคลื่อนไปตามการไหลของน้ำ -พบมากในBacilli shaped
—การจัดเรียงจัวมี4แบบ
—-Monotrichous-fagella1เส้น
—-Amphitrichous-fagella2ด้าน-หัว,ท้าย
—-Lophotrichous-fagellaหลายเส้น ด้านเดียว-เป็นช่อ
—-Peritrichous-fagella ทั้งตัว

–Fimbriae
–คล้ายขน ยึดเกาะเยื่อบุผิว เช่น หนองใน Neisseria Gonorhoeae

–Pili
—1-2อัน/เซลล์
—ยาวกว่า fimbriae
—sex pili เกาะกับเซลล์อื่นเพื่อส่งDNA

–Axial Filament
—เส้นพันรอบตัวเซลล์เป็นเกลียว ใช้เคลื่อนที่ได้
—มักพบในเซลล์รูปเกลียว ที่รูปทรงค่อนข้างแข็งSpirochete shaped เช่น Treponema pallidum สาเหตุของโรคซิฟิลิส ,lepspira สาเหตุของโรคฉี่หนูLeptospirosis

-Peptidoglycan ใช้น้ำตาล Nag-Nam ต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก

-แบคทีเรียแกรมบวก peptidoglycanผนังหนา60-90%
–สารที่ทำลายผนังง่าย -Lysozyme,Penicillin
-แบคทีเรียแกรมลบ ผนังบาง 5-10%

-แบคทีเรียที่มีผนังเซลล์อื่น
–Mycoplasma-อาศัยนอกโฮสต์ -มีsterolป้องกันเซลล์แตก
–archeaobacteria-ผนังเซลบ์เป็นคาร์โบไฮเดรท หรือ โปรตีน เยื่อหุ้มเซลล์เป็น phytanol

-hypotonic -เซลล์เต่ง -น้ำเข้า
-isotonic -ปกติ
-hypertonic -เซลล์เหี่ยว

-ไรโบโซม-bacteria 70S ถูกทำลายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ-ยูคาริโอต 80S

-Inclusion-แหล่งเก็บอาหาร/Gas สำรอง

-Plasmid-สารพันธุกรรมวงเล็ก
–มักพบยีน F-factor,R-factor(antibiotic resistance),tolerance toxin,produce toxin
–ใช้เปนเวกเตอร์ในการตัดต่อยีนGMO

-Endospore-เจอใน bacillus,clostridium
–ทำลายโดยSterilization
–ทดสอบโดย Malachite Green
–สปอร์มีpeptidoglycan 2ชั้น
–ตำแหน่งเอนโดสปอร์ กลางbacillus-ปลายClotridium-เกือบปลาย

การเจริญของจุลินทรีย์

การเจริญของจุลินทรีย์
-การเพิ่มจำนวน,ขนาดของเซลล์
-พอจุลินทรีย์เพิ่มจำนวนจะรวมกลุ่มเป็นโคโลนีColony 100-1,000cells ขึ้นไป
-ปัจจัย
–เคมี
—Carbon-ธาตุที่จุลินทรีย์ต้องการมากสุด
—Nitrogen 15% สร้างหมู่อะมิโน-Sulfur,Phosphorus 3% ใช้สร้างโปรตีน กรดนิวคลีอิค,ATP
—Trance Elements – K,Mg,Ca,Fe,Cu,Mo,Zn ใช้เป็นโคแฟคเตอร์ ใหัเกิดปฏิกริยา
—Organic Growth Factor -สารอินทรีย์ที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อม แต่แบคทีเรียบางชนิดสร้างเองไม่ได้ ต้องเติมเข้าไป
—Oxygen
—-Obligate Aerobes ต้องการออกซิเจน
—-Facultative Anaerobes ใช้ หรือ ไม่ใช้ ออกซิเจนก็ได้ ถ้าไม่ใช้จะเป็นการหมักFermentation-Escherichia coli
—-Obligate Anaerobe ไม่ใช้ออกซิเจนในการเจริญ-มีไนเตรต ซัลเฟต คาบอเนต เป็นตัวรับอิเล็กตรอนแทนออกซิเจน-Clostridium-จะไม่สร้างSuperoxide Dismutase และ Catalase
—-Aerotolerant anaerobes ไม่ใช้ออกซิเจน แต่ถ้ามีก็ทนได้-หมักคาร์โบไฮเดรต สร้างแลคติก-Lactobacillus หมักผักกาดดอง,เนยแข็ง
—-Microaerophiles-ใช้ออกซิเจนน้อย เพราะออกซิเจนเป็นพิษต่อมัน
โดยออกซิเจนจะเปลี่ยนเป็นToxic Formดังนี้
—–Singlet oxygen โมเลกุลออกซิเจนที่กระตุ้นโดยแสง จึงมีพลังงานสูง เจอในPhagocytic Cell (เซลล์เม็ดเลือดขาว)
—–Superoxide Free radical สร้างขึ้นมาน้อยเพราะเป็นพิษต่อเซลล์ แต่จุลินทรีย์ที่เจริญได้ในออกซิเจนจะสร้างเอนไซม์ Superoxide Dismitase
—–Hydrogen per oxide -เอนไซม์คะตะเลส ได้ น้ำ+ออกซิเจน
—–Hydroxyl Free Radical เจอในของเหลวในเซลล์ที่มีการกระตุ้นโดยรังสีอำนาจสูง
–กายภาพ
—อุณหภูมิ
—-Psychrophiles 5-15องศาเซลเซียส-จุลินทรีย์ในทะเล,มหาสมุทร
—-Psychrothroph อาหารแช่เย็น
—-Mesophiles 25-40องศาเซลเซียส -อาหารเน่า,เชื้อก่อโรค
—-Thermophiles 50-60องศาเซลเซียส-บ่อน้ำแร่,น้ำพุร้อน
—-Extreme Thermophiles 90องศาเซลเซียส ไม่เจริญในอุณหภูมิต่ำกว่า45องศาเซลเซียส-อาหารกระป๋อง
—กรด-ด่าง pH
—-ดีที่สุด 6.5-7.5
—-ยีส-รา 5-6
—-ในจานเพาะเชื้อ peptone,amino acid,เกลือฟอสเฟต จะช่วยรักษาระดับpHให้คงที่(buffer)
—Osmotic Pressure
—-จุลินทรีย์ต้องการน้ำ 80-90%
—-การถนอมอาหาร คือการทำให้สารละลายเข้มข้นสูง (ทำให้เซลล์เหี่ยว)
—-Facultative Halophiles -จุลินทรีย์ที่อยู่ได้ที่เกลือเข้มข้นมากกว่า2%
—-Extreme Halophiles -เกลือเข้มข้น30%,ทะเลDead Sea
-เทคนิคเลี้ยงเชื้อแบบไม่ใช้ออกซิเจน
–Anaerobic Jar,Gas-Pak Anaerobic Jar-sodium bi carbonate,sodium borohydride หยดน้ำไปจะได้ แก๊ส ไฮโดรเจน/คาร์บอนไดออกไซด์ ,palladium catalyst จับกับออกซิเจนในขวดโหล,แก๊สไฮโดรเจน จะกลายเป็นน้ำ ทำให้ออกซิเจนลดเร็ว,ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เร่งการเจริญเชื้อ
–Anaerobic Chamber -มีก๊าซเฉี่อย โดยใช้ก๊าซไนโตรเจนแทน-ใส่เชื้อใน Deep Test Tube,เอาเชื้อผสมกับอาหารที่หลอม,ฉีดเข้าหลอดที่มีจุกยางแล้วหมุนให้แาหารเคลือบหลอด
-เพาะเลี้ยงเชื้อแบบพิเศษ
–Living Host Cell -เพาะเชื้อในสิ่งมีชีวิต-Mycobacterium leprae เป็น Leprpsy bacillus ก่อโรคเรื้อน
-CO2 incubator-anaerobes ต้องการคาร์บอนไดออกไซด์
-Candle jars -ออกซิเจนลดเพราะเผาไหม้ และเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้เซลล์ -ประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค-หนองใน
-อาหารเพาะเชื้อ Cultural Media
–ปลูกเชื้อInoculate
-อาหารเหลว
–Agarอาหารแข็ง-Polysaccaride สาหร่าย-เหลว100องศาเซลเซียส,แข็ง42-45องศาเซลเซียส
—Agar Slant-หลอดหน้าเอียง
—Agar Deep – หลอดไม่เอียง
—Agar Plate -จานเพาะเชื้อ
-การเจริญของแบคทีเรีย
–แบคทีเรียแบ่งแบบBinary Fission ทวีคูณ,ที่Mesosome บนพลาสมาเมมเบรน
–การเพิ่มเป็น2เท่าเรียก Generation Time,Doubling Time
-Phase of bacteria Growth(เป็นกราฟรูปภูเขา)
–Lag Phase -เส้นราบก่อนขึ้นเขา-ปรับตัวกับอาหารใหม่ จำนวนเซลล์คงที่
–Log Phase/Exponential Phase -ช่วงขึ้นเขา-แบ่งแบบทวีคูณ ได้เซลล์เกิดใหม่ จึงอ่อนแอต่อ รังสี ยา สารยับยั้งการเจริญ
–Stationary Phase-เส้นราบ บน ยอดเขา -อัตราเกิดพอๆกับตาย-ประชากรคงที่ เพราะอาหารเริ่มหมด และ สะสมของเสีย
–Dead Phase/Decline Phase-ช่วงลงเขา-ตายมากกว่าเกิด-จำนวนเซลล์ลดลงแบบ ล็อกกาลิทึม
-การวัดการเจริญ
–นับ
–วัดมวล(Cell/ml),Cell/g
-การประมาณค่าจำนวนจุลินทรีย์โดยตรง
–Total Plate Count -นับเซลล์มีชีวิต-ค่าเชื่อถือ 30-300โคโลนีต่อจาน-ถ้าเชื้อมากเกินให้ทำSerial dilution ,pour /spread plate เพื่อแยกเป็นโคโลนีเดี่ยวๆ สามารถคำนวณกลับหาเชื้อเริ่มต้นได้
–Filtration-กรองเชื้อผ่าน เมมเบรน filter มีรูเล็กกว่าแบคทีเรีย เอามาวางบนจาน บ่มแล้วนับโคโลนี -รูกรอง 0.2และ 0.45ไมโครเมตร
–Direct Microscopic Count-ใช้อุปกรณ์Petroff-Hausser Counter หรือ counting chamber นับเซลล์ในตาราง หาค่าเฉลี่ยCell/ml-ได้ผลเร็ว-แต่ไม่รุ้ว่าตายหรือมีชีวิต
–Most Probable NumberMethod(MPN)-ใช้กับเชื้อน้อย-ค่าประมาณ-เชื่อถือได้95%
-การประมาณค่าทางอ้อม
–Turbidity-ค่าความขุ่น-Spectrophotometerเข้าเครื่องวัด Photoelectric Cell วัดค่าแสงส่องผ่าน(%Transmittion),ค่าดูดกลืนแสง(OD)optical density-ใช้Generation Time ได้
–Metabolic Activity-วัดจากกิจกรรมที่ใช้ในเซลล์ เช่นวัดค่าออกซิเจนที่ใช้ จากMethylene blue (ออกซิเจนมากสีน้ำเงิน)
–Dry weight-วัดกลุ่มเชื้อรา กรองใยเชื้อราผ่านกระดาษกรอง แล้วทำให้แห้งในโถดูดความชื้น(Dessicator)และชั่งน้ำหนักเซลล์-บางวิธีก็ปั่นเหวี่ยงตะกอนแล้วเอามาชั่งน้ำหนักเซลล์

อิมัลชั่น ครีม เทคโนโลยีเภสัชกรรม

อิมัลชั่น ทางเภสัชกรรม แบบย่อ
เป็นสาร2วัตภาคหรือมากกว่า ที่ไม่เข้ากัน
ประกอบด้วย3ส่วนคือ
1)ส่วนน้ำ หรือ วัตภาคน้ำ หรือ เฟสน้ำ Phase water
2)น้ำมัน หรือ วัตภาคน้ำมัน หรือ เฟสน้ำมัน หรือ Phase oil
3)สารเชื่อมสารที่ไม่เข้ากัน ของส่วนแรกและส่วนสอง เรียกว่า
Emulsifyer หรือ Emusifying agent
อิมัลชั่นโดยปกตืจะไม่ตกตะกอน แต่หากทิ้งไว้นานอาจเกิดการแยกชั้นได้
มีหลายอย่างที่ทำเป็นยาเช่น ครีมที่ทาผิว ทาหน้า , ยาเหน็บ , โลชั่น เป็นต้น
ทำอิมัลชั่นคือต้องให้มันผสมด้วยกันได้ระหว่างวัตภาคน้ำและวัตภาคน้ำมัน มีสื่อกลางเชื่อมคือEmusifyer
โดยอยู่ในลักษณะคล้ายยกับ วัตภาคนึงจะเป็นตัวทำละลาย อีกวัตภาคจะเป็นตัวถูกละลาย
หลักๆจะมีสองลักษณะคือ
1) o/w  (มาจาก oil in water ) หมายความว่า น้ำมันละลายอยู่ในน้ำ
2)w/o   (มาจากwater in oil) หมายความว่า น้ำละลายอยู่ในน้ำมัน
*สัญลักษณ์นี้เป็นที่เข้าใจสากล เพราะง่ายต่อการพูดถึง
o = oil วัคภาคน้ำมัน
w = water วัตภาคน้ำ
ตัวหน้าคือ ตัวถูกละลาย มีปริมาณน้อยกว่า
ตัวหลังคือ ตัวทำละลาย มีปริมาณเยอะกว่า
แล้วถ้าถามว่า มี o/w/o หรือ w/o/w ไหม?
w/o/w= น้ำละลายในน้ำมันซึ่งละลายในน้ำอีกที ละลายซ้อนกันสองชั้น
ตอบว่า มี!
แต่ส่วนมากจะไม่คงตัวมักกลับไปชั้นเดียวเหมือนเดิม= w/o , o/w
แล้วละลาย ซ้อนกันมากกว่า2ชั้นหล่ะ มีไหม?
มี !
โดยให้เหตุผลเดียวกันกับละลายซ้อนกัน2ชั้น
คือ ส่วนมากจะไม่คงตัวมักกลับไปชั้นเดียวเหมือนเดิม= w/o , o/w
ส่วนมากจะมีสีขาวถ้าขนาดอนุภาคเล็กพอ มีเครื่องลดขนาดอนุภาคเช่นHomoginizer เป็นเครื่องลดขนาดอนุภาคด้วยมือเหมือนวิดน้ำบาดาล หมุนหัวหลวมจะกดแท่นไปจะมีของเหลวออกมาง่ายแต่ลดไม่ดีเท่าหมุนแน่น แต่ต้องไม่แน่นจนกดมาแล้วไม่มีอะไรออกมาเลย
ทางเภสัชกรรมจะใช้ โกร่งและลูกโกร่ง ในการลดขนาดอนุภาคสมัยก่อน ที่ยังไม่มีเครื่องมือ ลักษณะเหมือนครกกับสาก ปั่นของเหลวข้างในที่ประกอบด้วยสามส่วนหลักที่ระบุไป จนเป็นสีขาว
ใช้โกร่งทำอิมัลชั่น มี2วิธีคือ
1)แบบธรรมดา
2)แบบกลับวัตภาค
วิธีผสมแบบธรรมดาที่เข้าใจง่ายๆคือ ไม่มีการกลับวัตภาค เช่น เทวัตภาคที่มีปริมาณน้อยลง อีกวัตภาคที่มีประมาณมากกว่า จะอยู่ในรูปที่ตัวน้อยถูกหุ้้มด้วยตัวมาก  มักจะได้ o/w หรือ w/o
วิธีแบบกลับวัตภาค คือ การผสมวัตภาคมากลงไปในวัตภาคน้อย มันจะเกิดการกลับวัตภาคได้อย่างไร?
สมมุตว่าเรามี2วัตภาค ตั้งอยู่
วัตภาคน้ำในบีกเกอร์200ml
กับ วัตภาคน้ำมัน 150ml
อย่าลืม ใส่อิมัลซิไฟเออร์ให้ถูก ถ้าละลายน้ำใส่วัตภาคน้ำ ละลายน้ำมันก็ใส่วัตภาคน้ำมัน ไม่งั้นคนเท่าไรก็ไม่เป็นอิมัลชั้นนะ
เราจะเทวัตภาคน้ำที่เรามีมากกว่าลงวัตภาคน้ำมัน ที่เราตวงมาน้อยกว่า
เทให้เป็นสาย พร้อมคนแรงๆ
พอใส่ไปตอนแรกพร้อมคนแรงๆ น้ำจะมีน้อยกว่าน้ำมัน ตอนนี้จะเป็น w/o
พอเมื่อเทต่อไปเรื่อยๆน้ำจะมากกว่าน้ำมันแล้ว น้ำหุ้มอยู่นอกสุด เตืม  /w  อีกตัวต่อท้ายเป็น ตอนนี้จะเป็น w/o/w
การกลับวัตภาคนั้น เป็นที่น่าแปลกใจอยู่อย่างคือ มันทำให้อนุภาคอิมัลชั่นของเราเล็กลง !!! เป็นข้อดี ที่เราต้องการ ยิ่งเล็กยิ่งดี เป็นสีขาว
ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ วิธีกลับวัตภาค และเป็นข้อดี ที่วิธีธรรมดา ไม่ให้ผลแบบนี้
ต้องดูว่าEmusifyer ละลายได้ใน วัตภาคน้ำ หรือน้ำมัน ต้องดูด้วยเพื่อให้ใส่ลงไปให้ถูกวัตภาค
อย่าง Emusifyerที่ละลายน้ำเช่น Tween ซึ่งมีหลายเบอร์ อย่าง Tween20 ,Tween 40 ,60,80 เลขต่างกันเพราะสัดส่วนของของผสมต่างกัน
ละลายในไขมันเช่น span ก็มีเบอร์เหมือนกับ Tween และเพราะสัดส่วนของของผสมในนั้นต่างกันด้วยเหมือนกัน
นอกจากส่วนประกอบหลัก 3ส่วน ที่กล่าวในข้างต้นของอิมัลชั่นแล้ว สามารถใส่อย่างอื่นไปเสริมได้ตามที่ต้องการใช้ อย่างเช่น สารแต่งสี ,กลิ่น  สารแต่งกลิ้นใส่ทีหลังสุดเพื่อกันระเหยของกลิ่นออกไป ,สารกันบูด preservative ถ้ามีน้ำต้องมีสารกันบูด ไม่งั้นแบคทีเรียเข้าไปเจริญ อิมัลชั่นเราจะเสีย ใส่ในเฟสน้ำ แบคทีเรียเจริญในน้ำ  ,สารกันหืน oxidazing agent ใส่ในเฟสน้ำมัน นึกถึงนำ้มันพืชตามบ้านที่สามารถเหม็นหืนง่าย และอื่นๆอีกมากมาย

เคมีของยา

เคมีของยา  ทางเภสัชกรรม
โครงสร้างของยานั้นมีหลายประเภท แต่ละรูปแบบนั้นมีฤทธิ์ทางเภสัชที่ต่างกัน อย่างเช่น ยาที่มีquinine มักรักษาโรคมาลาเรีย
แต่ก็ไมได้เป็นแบบนี้เสมอไป แค่โครงสร้างต่างการออกฤทธิ์อาจจะต่างไปด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นการรักษาโรคเดียวกันก็ตาม เช่น ยารักษามะเรีง ยากลุ่มพวก N-mustard จะมีกลไกการออกฤทธิคนละแบบ กับยากลุ่ม Aziridine แต่รักษาโรคเดียวกันคือมะเร็ง
แต่โครงสร้างแต่ละแบบที่มีผลรักษาโรคนั้นไม่ใช่ว่าจะนำมาใช้เป็นยาได้ทันที ตัวอย่างเช่น ยารักษาโรคชนิดหนึ่ง ไม่ละลายน้ำ แต่ฤทธิ์ของมันเป็นเบส แต่โครงสร้างใหญ่มากๆ จึงไม่สามารถละลายน้ำได้ แล้วมีผลอย่างไร เมื่อละลายน้ำไม่ได้ จะทำให้กินไม่ได้ ไม่ดูดซึม ทางระบบย่อยอาหารในร่างกายเรา เราจึงต้องเปลี่ยนยาตัวนี้ให้สมบัติเป็นเกลือ เพื่อให้ละลายน้ำได้ เกลือในที่นี้คือการที่เอา กรด + เบส จะได้ เกลือกับน้ำออกมา ไม่ได้หมายถึงเกลือเค็มๆ ที่ใส่เพื่อปรุงแต่งรสอาหารอย่างเดียว  เกลือมีคุณสมบัติละลายน้้ำได้ ด้วยโชคดีที่ยาตัวนี้มีลักษณะเป็นเบส จึงทำให้ไปจับกับกรดที่เราจะเตรียมให้เป็นเกลือ แล้วไปทำเป็นยาฉีดได้ แต่หากยานี้เป็นกรด ก็ทำเป็นเกลือเบสได้ ไม่มีปัญหา แต่ต้องไม่ทำให้เป็นกรดแก่ เบสแก่ เพราะถ้าฉีดเข้าร่างกายเรา เนื้อเยื่อจะตายได้ แต่หากยาเป็นกลางหละ?? ให้ใช้วิธีเอา ตัวช่วยแขวนตะกอน หรือ Suspending agent เข้ามาช่วย ให้ยากระจายตัวอยู่ในน้ำได้ ไม่ตกตะกอนเพราะยาฉีดนั้นต้องไม่ตกตะกอนเพราะต้องเข้าไปในกระแสเลือดในร่างกายเรา จะทำให้เกิดปัญหาได้
ยาบางตัวมีฤทธิ์สั้น ต้องใช้ปริมาณมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ side effect จึงต้องแก้ไขโดยโครงสร้างของยา อย่างเช่น ตัวออกฤทธิ์ของยาอยู่ตรงกลาง เราสามารถ เอาโครงสร้างอื่นไปเกาะตรงบริเวณใกล้เคียงเพื่อ บดบัง การเมตาบอลิซึมได้ เมตาบอลิซึมทำให้ยาฤทธิ์สั้นด้วยส่วนหนึ่ง  การบดบัง หรือเข้าไปวางโครงสร้างเกะกะนี้ เรียกว่า Steric เพื่อให้ไม่ถูกทำให้ยาหมดฤทธิ์ได้ง่ายนั่นเอง มีผลทำให้ใช้ยาปริมาณน้อยลง ลด ผลข้างเคียงของยาได้ หรืออาจจะใช้วิธีเพิ่มหมู่คาร์บอนลงไปเยอะๆ เพื่อให้สลายพันธะได้ยากขึ้น ก็ช่วยได้เหมือนกัน แต่ต้องดูด้วยว่ามันทำให้ฤทธิฺยาเปลี่ยนไปหรือเปล่า หรืออาจทำให้ยามีฤทธิ์มากขึ้น น้อยลง หรือมี effect อื่นเพิ่มขึ้นมา
หลักกการ isomerase คือธาตุที่อยู่ในหมู่เดียวกันสามารถเปลี่ยนกันได้ ในวงคาร์บอน ไม่ว่าจะเป็นกี่เหลี่ยม= 5,6,7,เหลี่ยมหรือ อื่นๆ ก็ตาม โดยที่ฤทธิ์ยายังเหมือนเดิม อย่างเช่น N หมู่6เปลี่ยนเป็นO หมู่6 ก็ได้ แทนที่กันได้เลย โดยที่ฤทธิยาไม่เปลี่ยน

เภสัชเวท


เภสัชเวท


                    เป็นศาสตร์เกี่ยวกับ พืช สัตว์ ที่มาทำยาได้ ทำประโยชน์ได้ ใช้รักษาไม่ว่าจะเป็นทั้งคน สัตว์ หรือ ภายใน ภายนอก โดยสกัด หรือมีกรรมวิธี เอาสารสำคัญออกมาจากส่วนต่างๆของพืช ไม่ว่าจะเป็น ต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด เปลือกเมล็ด และอื่นๆ อย่างเช่น แก่นขนุนที่ใช้ย้อมผ้า ฟ้าทลายโจรแก้ไอ  ยาแผนปัจจุบันที่เรากินใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็มีส่วนสกัดอออกมาจากพืชสมุนไพรพวกนี้ด้วย อย่างเช่น เจลว่านหางจระเข้แก้น้ำร้อนลวกแผลพุพอง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เช่น ครั่งดุ้น ก็นำมาย้อมผ้าเป็นสีแดงได้ ประเทศเมืองร้อน อุดมสมบูรณ์ อย่างประเทศไทยจึงมีวัตถุดิบมากมายให้เลือกสรร กันเต็มที่ แต่พืชที่มีฤทธิ์บางชนิดก็ต้องใช้จากต่างประเทศเช่น แก้ริดสีดวง รักษาเส้นเลือดขอด จะใช้ต้น  hose chest nut ไม้เมืองนอก  แต่พืชบางชนิดคนละสภาวะก็ให้ฤทธิื์ที่ต่างกันอย่างเช่น ผลสมอไท ดิบกับสุก เป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ท้องผูกกันคนละสภาวะกัน จะใช้แก้อะไรต้องดูให้ดีว่าใช้ผลดิบ หรือ ผลสุก ไม่งั้นฤทธื์ตรงข้ามกันจะเกิดปัญหาได้

เภสัชวิเคราะห์

เภสัชวิเคราะห์
เป็นการตรวจวัดปริมาณของยาสำคัญที่อยู่ในยา อย่างเช่น ตรวจหาว่าในพารา1เม็ดมียาพาราอยู่จริงกีมิลลิกรัม เข้ามาตราฐานตามที่กำหนดไว้ใน ฟามาโคเปีย  ไหม?  จะทำการตรวจโดยการไตรเตรท และออกแบบการตรวจวัดที่เหมาะสม กับยา หรือสารชนิดนั้น
การไตเตรท จะใช้บิวเรตเป็นตัวปล่อยของเหลวมา โีดยวิธีการขึ้นกับความเหมาะสมของสารที่จะตรวจวัด
ควรทำการทดลองอย่างน้อยหลายๆครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด โดยแต่ละการตรวจต้องไม่ต่างกันมาก หากต่างกันมากไป ต้องไปทำมาใหม่เพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน งานนี้จึงเป็นงานที่ต้องละเอียดและรอบคอบมากๆในการทำงาน การแก้รีพอร์ทที่ได้จากการตรวจวัดจะไม่ใช้ น้ำยาลบคำผิด แต่จะใช้ปากกาขีดทิ้งแล้วเขียนใหม่เพื่อป้องกันการ Make data หรือการเขียนเองโดยไม่ได้มาจากการตรวจที่แท้จริง ทศนิยมของปริมาณของเหลวอ่านค่าบิวเรตใช้ทศนิยม2ตำแน่ง เช่น 3.02 , 0.05, 4599.98 ค่าของของแข็งที่ชั่งใช้ทศนิยม4ตำแหน่งเช่น 6.2345
ค่าทศนิยม ทศนิยมที่อ่านได้จากบิวเรตตัวสุดท้ายจะเป็นค่าที่ประมาณด้วยสายตาจากผู้ตรวจวัด  ส่วนทศนิยมตัวแรกได้จากค่าของบิวเรตวัดได้จริงๆ โดยค่าที่ประมาณจากสายตานั้น ต้องลงท้ายด้วยเลขคู่ แต่มี5เป็นเลขคี่ตัวเดียว คือ 0.2.4.5,6,8
การอ่านบิวเรตนั้นถ้าสารมีลักษณะใสให้ใช้ ท้องน้ำ เร่ียก Lower meniscus ส่วนที่โค้ง ของของเหลวที่อยู่ในบิวเรต เพราะบิวเรตค่อนข้างแคบเล็กจึงมีแรงตีงระหว่างผิวแก้วบิวเรตกับของเหลวมากกว่าแรงตึงผิวระหว่างของเหลวด้วยกัน ของเหลวด้านข้างจึงดูเหมือนถูกยกขึ้นไป ทิ้งตรงกลางเอาไว้ซึ้งเราจะใช้ส่วนโค้งตรงนี้ในการอ่านขีดที่บืวเรต อาจจะมีตัวช่วยอย่าง บืวเรต รีดเดอร์ Burett reader คือแถบดำเลื่อนให้สะท้อนท้องน้ำ จะได้เห็นได้ชัดขึ้น  แต่ถ้าของเหลวมีสีทึบ อย่าง KMnO4 ด่างทับทิม ให้ใช้ ด้านบนได้เลย เรี่ยก upper meniscus เพราะมองไม่ค่อยเห็นจึงไมสามารถเป็นมาตราฐานได้ เลยใช้ส่วนบนที่ทึบอ่านค่าบิวเรตได้เลย ที่บิวเรตแคบเพราะหากอ่านค่าคลาดเคลื่อนจะไม่มีปริมาณมากเท่าพื้นที่ผิวกว้างๆ เมื่อคลาดเคลื่อนแล้วจะผิดมากจนผลออกมาผิดพลาดได้